16-18 พฤศจิกายน 2566
ค่ายเวทีนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์แห่งชาติ ครั้งที่ 19
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ภาพบรรยากาศ
ข่าว / ประกาศ
กติกาการประกวด/แข่งขัน
ค่ายเวทีนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์แห่งชาติ ครั้งที่ 19
การแข่งขันตอบปัญหาทางวิทยาศาสตร์
1. ประเภทการแข่งขัน

การแข่งขันประเภททีม ทีมละ 2 คน แบ่งเป็น 3 ระดับ คือ

  • ประถมศึกษา
  • มัธยมศึกษาตอนต้น
  • มัธยมศึกษาตอนปลาย
2. วัน – เวลา และสถานที่ในการแข่งขัน

วันศุกร์ที่ 17 พฤศจิกายน 2566 เวลา 09:00 – 12:00 น. ณ สถานที่แข่งขัน ดังนี้

  • ประถมศึกษา ห้อง วท3 ชั้น 1 อาคารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท)
  • มัธยมศึกษาตอนต้น ห้อง วท2 ชั้น 1 อาคารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท)
  • มัธยมศึกษาตอนปลาย ห้อง วท1 ชั้น 1 อาคารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท)
3. ลักษณะข้อสอบ และโจทย์คำถาม
  • ระดับประถมศึกษา ครอบคลุมเนื้อหาทางวิทยาศาสตร์ ตั้งแต่ ป.4 – ป.6
  • ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ครอบคลุมเนื้อหาทางวิทยาศาสตร์ ตั้งแต่ ม.1 – ม.3 (ไม่รวมคณิตศาสตร์)
  • ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ครอบคลุมเนื้อหารายวิชาฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา ม.4 – ม.6
4. กติกาการแข่งขันและการตัดสิน
  • ใช้จำนวนคำถามในการตัดสิน
    • ประถมศึกษา ………….. คำถาม
    • มัธยมศึกษาตอนต้น ……………คำถาม
    • มัธยมศึกษาตอนปลาย 30 คำถาม โดยข้อสอบจะแบ่งเป็นชุด จำนวน 10 ชุด แต่ละชุดมีข้อสอบ 3 ข้อคือมีข้อสอบวิชาฟิสิกส์ 1 ข้อ เคมี 1 ข้อ และชีววิทยา 1 ข้อ หากครบจำนวนคำถามแล้วมีทีมที่มีคะแนนสูงสุดเท่ากันจะแข่งขันกันต่อทีละชุด จำนวน 1 ชุด แต่หากยังมีผู้ได้คะแนนเท่ากันจะแข่งขันต่อทีละคำถาม จนกว่าจะได้ทีมที่มีคะแนนมากกว่า
  • หากครบจำนวนคำถามแล้วมีทีมที่มีคะแนนสูงสุดเท่ากันจะแข่งขันกันต่อทีละคำถาม จนกว่าจะได้ทีมที่มีคะแนนมากกว่า
  • เวลาที่ใช้ในการตอบคำถามขึ้นอยู่กับความยากง่ายของคำถามแต่ละข้อ ตามความเห็นของคณะกรรมการตัดสินการแข่งขันการตอบปัญหาทางวิทยาศาสตร์
  • ห้ามใช้อุปกรณ์ใดๆ นอกเหนือจากที่คณะกรรมการจัดไว้ให้
  • ห้ามผู้เข้าแข่งขันทุกระดับใช้โทรศัพท์มือถือระหว่างการแข่งขัน
  • ไม่อนุญาตให้อาจารย์ที่ปรึกษาและบุคคลภายนอกเข้าร่วมชมการแข่งขัน
* การตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นการสิ้นสุด จะอุทธรณ์มิได้
การแข่งขันกระบวนการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์
1. ประเภทการแข่งขัน

การแข่งขันประเภททีม ทีมละ 2 คน แบ่งเป็น 2 ระดับ คือ

  • มัธยมศึกษาตอนต้น
  • มัธยมศึกษาตอนปลาย
2. วัน – เวลา และสถานที่ในการแข่งขัน

วันศุกร์ที่ 17 พฤศจิกายน 2566 เวลา 09:00 – 12:00 น. ณ สถานที่แข่งขัน คือ

  • ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ณ ห้อง BSc0906 ชั้น 9
  • ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ณ ห้อง BSc0706 (ห้องแลปฟิสิกส์ โครงการ วมว.) ชั้น 7 อาคารเรียนและปฏิบัติการพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ (BSc)
3. ลักษณะข้อสอบ และโจทย์คำถาม

เป็นการทดลองความสามารถด้านกระบวนการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ โดยให้นักเรียนศึกษาวิเคราะห์ปัญหาจากสถานการณ์ที่กำหนดให้ออกแบบการทดลอง ลงมือปฏิบัติและเขียนรายงาน

  • ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ใช้เวลาในการแข่งขัน 2.5 ชั่วโมง รวมการทำปฏิบัติการและเขียนรายงาน โดยเนื้อหาวิชาที่ใช้ในการแข่งขันครอบคลุมเนื้อหาไม่เกินความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ผู้เข้าแข่งขันเตรียมเครื่องเขียนและนำเครื่องคิดเลขมาเอง)
  • ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ใช้เวลาในการแข่งขัน 3 ชั่วโมง รวมการทำปฏิบัติการและเขียนรายงาน โดยเนื้อหาวิชาที่ใช้ในการแข่งขัน ได้แก่ ฟิสิกส์ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
4. กติกาการแข่งขันและการตัดสิน
  • ห้ามใช้อุปกรณ์ใดๆ นอกเหนือจากที่คณะกรรมการจัดไว้ให้ และห้ามนำเอกสารหรืออุปกรณ์ใดๆ ที่ใช้ในการแข่งขันออกจากห้อง
  • ห้ามผู้เข้าแข่งขันใช้โทรศัพท์มือถือระหว่างการดำเนินการแข่งขัน
  • ไม่อนุญาตให้อาจารย์ที่ปรึกษาและบุคคลภายนอกเข้าร่วมชมการแข่งขัน
  • คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจะตัดสินการแข่งขันโดยพิจารณาจากรายงานผลการทดลองและเทคนิคการทำปฏิบัติการ โดยในรายงานผลการทดลองจะพิจารณาจากการวางแผนการทดลอง การแก้ปัญหาและความถูกต้องของผลการทอลอง
* การตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สุด จะอุทธรณ์มิได้
การแข่งขันวาดภาพการ์ตูนทางวิทยาศาสตร์
1. หัวข้อการแข่งขัน

คณะกรรมการจะแจ้งหัวข้อภาพซึ่งสะท้อนความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และจินตนาการทางวิทยาศาสตร์ให้ทราบในวันแข่งขัน เพื่อวัดความสามารถที่แท้จริงของนักเรียน โดยไม่อนุญาตให้ผู้เข้าแข่งขันออกจากห้องแข่งขันหลังจากที่ได้รับหัวข้อเรื่อง เป็นเวลา 1 ชั่วโมง ยกเว้นกรณีมีเหตุสุดวิสัย

2. วัน – เวลา และสถานที่ในการแข่งขัน

วันศุกร์ที่ 17 พฤศจิกายน 2566 ทุกประเภทการแข่งขัน ห้อง BSc2 ชั้น 2 อาคารเรียนและปฏิบัติการพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ (BSc)

3. ประเภทการแข่งขัน
  • การวาดภาพการ์ตูนทางวิทยาศาสตร์ ระดับประถมศึกษา (วาดภาพการ์ตูนไม่น้อยกว่า 3 ช่อง อาจมีตัวหนังสือประกอบ หรือไม่มีก็ได้)
  • การวาดภาพจินตนาการทางวิทยาศาสตร์ ระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย
4. อุปกรณ์ที่ใช้ในการแข่งขัน
  • คณะกรรมการจัดเตรียมให้
    กระดาษขนาด A3 หรือประมาณ 11.50 x 16.50 นิ้ว พร้อมตราประทับของคณะกรรมการ
  • ผู้เข้าแข่งขันเตรียมมาเอง
    อุปกรณ์และสีที่ใช้สำหรับการแข่งขันทั้งหมดที่ใช้ในประกอบการวาดภาพและระบายสี
5. กติกาการแข่งขันและการตัดสิน
  • สีที่ใช้ในการวาดภาพ
    • การวาดภาพการ์ตูน ระดับประถมศึกษาใช้สีไม้ (Pencil Color)
    • การวาดภาพจินตนาการระดับประถมศึกษาใช้สีชอล์กน้ำมัน (Oil Pastel Color)
    • การวาดภาพจินตนาการระดับมัธยมศึกษาตอนต้น มัธยมศึกษาตอนปลาย ใช้สีประเภทใดประเภทหนึ่งที่ใช้น้ำเป็นตัวกลาง/ละลาย เช่น สีน้ำ สีโปสเตอร์ สีอะคริลิก ฯลฯ (ยกเว้นสีไม้ระบายน้ำ) หมายเหตุ: ไม่อนุญาตให้ใช้สีเมจิก น้ำยาลบคำผิด ปากกาหมึกแห้ง เป็นต้น ให้ผู้แข่งขันวาดภาพในเชิงสร้างสรรค์ในลักษณะ 2 มิติ ไม่พิจารณาผลงาน 3 มิติ เช่น ปะติด (Collage) หรือ สื่อผสม (Mix Media)
  • ขนาดของภาพ ใช้กระดาษวาดเขียนขนาด A3 หรือประมาณ (11.50 x 16.50 นิ้ว) ที่จัดหาให้เท่านั้น โดยพื้นที่สำหรับวาดภาพในเว้นจากขอบกระดาษด้านละ 1 นิ้ว
  • เวลาที่ใช้ในการแข่งขัน 3 ชั่วโมง
  • การตัดสิน
    • แนวคิด (จินตนาการ) 25 คะแนน
    • รูปแบบทางศิลปะ 25 คะแนน
    • เนื้อหาทางวิทยาศาสตร์ 30 คะแนน
    • ความเหมาะสมของเทคนิค 20 คะแนน
    • รวม 100 คะแนน
* การตัดสินของกรรมการถือเป็นที่สุด จะอุทธรณ์มิได้
** กรณีที่เกิดข้อขัดแย้งใดๆ ขึ้นในระหว่างการแข่งขัน ขอสงวนสิทธิ์ในการตัดสินในอยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการ และถือเป็นข้อยุติ
การแข่งขันวาดภาพจินตนาการทางวิทยาศาสตร์
1. หัวข้อการแข่งขัน

คณะกรรมการจะแจ้งหัวข้อภาพซึ่งสะท้อนความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และจินตนาการทางวิทยาศาสตร์ให้ทราบในวันแข่งขัน เพื่อวัดความสามารถที่แท้จริงของนักเรียน โดยไม่อนุญาตให้ผู้เข้าแข่งขันออกจากห้องแข่งขันหลังจากที่ได้รับหัวข้อเรื่อง เป็นเวลา 1 ชั่วโมง ยกเว้นกรณีมีเหตุสุดวิสัย

2. วัน – เวลา และสถานที่ในการแข่งขัน

วันศุกร์ที่ 17 พฤศจิกายน 2566 ทุกประเภทการแข่งขัน ห้อง BSc2 ชั้น 2 อาคารเรียนและปฏิบัติการพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ (BSc)

3. ประเภทการแข่งขัน
  • การวาดภาพการ์ตูนทางวิทยาศาสตร์ ระดับประถมศึกษา (วาดภาพการ์ตูนไม่น้อยกว่า 3 ช่อง อาจมีตัวหนังสือประกอบ หรือไม่มีก็ได้)
  • การวาดภาพจินตนาการทางวิทยาศาสตร์ ระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย
4. อุปกรณ์ที่ใช้ในการแข่งขัน
  • คณะกรรมการจัดเตรียมให้
    กระดาษขนาด A3 หรือประมาณ 11.50 x 16.50 นิ้ว พร้อมตราประทับของคณะกรรมการ
  • ผู้เข้าแข่งขันเตรียมมาเอง
    อุปกรณ์และสีที่ใช้สำหรับการแข่งขันทั้งหมดที่ใช้ในประกอบการวาดภาพและระบายสี
5. กติกาการแข่งขันและการตัดสิน
  • สีที่ใช้ในการวาดภาพ
    • การวาดภาพการ์ตูน ระดับประถมศึกษาใช้สีไม้ (Pencil Color)
    • การวาดภาพจินตนาการระดับประถมศึกษาใช้สีชอล์กน้ำมัน (Oil Pastel Color)
    • การวาดภาพจินตนาการระดับมัธยมศึกษาตอนต้น มัธยมศึกษาตอนปลาย ใช้สีประเภทใดประเภทหนึ่งที่ใช้น้ำเป็นตัวกลาง/ละลาย เช่น สีน้ำ สีโปสเตอร์ สีอะคริลิก ฯลฯ (ยกเว้นสีไม้ระบายน้ำ) หมายเหตุ: ไม่อนุญาตให้ใช้สีเมจิก น้ำยาลบคำผิด ปากกาหมึกแห้ง เป็นต้น ให้ผู้แข่งขันวาดภาพในเชิงสร้างสรรค์ในลักษณะ 2 มิติ ไม่พิจารณาผลงาน 3 มิติ เช่น ปะติด (Collage) หรือ สื่อผสม (Mix Media)
  • ขนาดของภาพ ใช้กระดาษวาดเขียนขนาด A3 หรือประมาณ (11.50 x 16.50 นิ้ว) ที่จัดหาให้เท่านั้น โดยพื้นที่สำหรับวาดภาพในเว้นจากขอบกระดาษด้านละ 1 นิ้ว
  • เวลาที่ใช้ในการแข่งขัน 3 ชั่วโมง
  • การตัดสิน
    • แนวคิด (จินตนาการ) 25 คะแนน
    • รูปแบบทางศิลปะ 25 คะแนน
    • เนื้อหาทางวิทยาศาสตร์ 30 คะแนน
    • ความเหมาะสมของเทคนิค 20 คะแนน
    • รวม 100 คะแนน
* การตัดสินของกรรมการถือเป็นที่สุด จะอุทธรณ์มิได้
** กรณีที่เกิดข้อขัดแย้งใดๆ ขึ้นในระหว่างการแข่งขัน ขอสงวนสิทธิ์ในการตัดสินในอยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการ และถือเป็นข้อยุติ
การประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมนักวิทยาศาสตร์น้อย
1. ประเภทการประกวด

สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา เท่านั้น เป็นการประกวดประเภททีม ทีมละ 3 คน

2. วัน – เวลา และสถานที่ในการแข่งขัน

วันศุกร์ที่ 17 พฤศจิกายน 2566 เวลา 09.00 – 12.00 น. ณ ห้อง BSc0305 ชั้น 3 อาคารเรียนและปฏิบัติการพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ (BSc)

3. กติกาการประกวดและการตัดสิน
  • ผลงานและทีมผู้นำเสนอจะต้องเป็นชุดเดียวกันกับที่ได้รับรางวัลชนะเลิศระดับภูมิภาคจากการประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมนักวิทยาศาสตร์น้อย ระดับประถมศึกษา เท่านั้น หากมีการเปลี่ยนแปลงต้องได้รับความเห็นชอบจาก สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ เท่านั้น
  • การติดตั้งผลงานจะต้องทำให้แล้วเสร็จ ในวันพฤหัสบดีที่ 16 พฤศจิกายน 2566 ภายในเวลา 14.00 น. เท่านั้น
  • การตัดสิน คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจะพิจารณาตามหลักเกณฑ์ ดังนี้
    • ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
    • ความเหมาะสมในการเลือกใช้วัสดุ (หาง่าย ประหยัด คุ้มค่า และราคาถูก)
    • เทคนิคการผลิต (ขนาด องค์ประกอบความชัดเจน ความสวยงาม ความคงทน ความสอดคล้องของภาพและเสียง)
    • ประโยชน์ของสิ่งประดิษฐ์
* การตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นการสิ้นสุด จะอุทธรณ์มิได้
การประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
1. ประเภทการประกวด

เป็นการประกวดประเภททีม ทีมละ 3 คน

2. วัน – เวลา และสถานที่ในการประกวด

วันศุกร์ที่ 17 พฤศจิกายน 2566 ณ อาคารเรียนและปฏิบัติการพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ (BSc)

  • มัธยมศึกษาตอนต้น ห้อง BSc3 ชั้น 3
  • มัธยมศึกษาตอนปลาย ห้อง BSc4 ชั้น 4
3. กติกาการประกวดและการตัดสิน
  • ภาพรวมของโครงงาน ได้แก่
    • ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
    • การใช้วิธีทางวิทยาศาสตร์ (ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์)
    • การแสดงให้เห็นถึงความรู้ ความเข้าใจในเรื่องที่ทำ
    • การแสดงหลักฐานการบันทึกข้อมูลอย่างเพียงพอ
    • คุณค่าของโครงงาน
    • การนำเสนอรายงาน
  • ภาพรวมของรายงาน ได้แก่
    • ความถูกต้องของแบบฟอร์มการนำเสนอข้อมูล
    • ผลการทดลองและอภิปรายผล
    • การใช้ภาษาและคำศัพท์ทางวิทยาศาสตร์การสรุปผลการทดลอง
    • การอ้างอิงในเนื้อหา
  • การจัดแสดงโครงงาน ได้แก่
    • ความเหมาะสมในการใช้อุปกรณ์
    • เทคนิค/รูปแบบในการจัดแสดง
    • ความประณีตสวยงาม
  • การอภิปรายปากเปล่า
    • การนำเสนอ
    • การตอบคำถาม

รายละเอียดเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์

4. อุปกรณ์ที่จัดเตรียมไว้ให้
  • โต๊ะสำหรับวางสิ่งจัดแสดง ขนาด กว้าง * ยาว คือ 60 * 180 เซนติเมตร
  • เต้าเสียบปลั๊กไฟ (หากต้องการใช้ไฟในการนำเสนอสิ่งจัดแสดงโปรดนำปลั๊กพ่วง มาเอง)
* การตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นการสิ้นสุด จะอุทธรณ์มิได้
ผู้สนับสนุน
ค่ายเวทีนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์แห่งชาติ ครั้งที่ 19
Pumpkin Sponsors:
Palm-Tree Sponsors:
Dinosaur Sponsors:
Atom Sponsors:
ค่ายเวทีนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์แห่งชาติ ครั้งที่ 19
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Title 2
ติดตามเรา
© TYSF19
Faculty of Science, Prince of Songkla University